อันตรายจากหลอดเลือดอุดตัน



1.โรคหลอดเลือดสมอง
ภาวะสมองขาดเลือดถือว่าเป็นหนึ่งในโรคสำคัญที่พบได้บ่อยในสังคมเรา และกลายเป็นปัญหาหนักต่อตัวผู้ป่วยเอง ต่อครอบครัวของผู้ป่วย รวมทั้งต่อสังคมโดยทั่วไปด้วย โรคนี้จะทำให้เกิดอาการอัมพาตเฉียบพลัน ผู้ป่วยอาจสูญเสียความสามารถในการพูดและหรือการมองเห็น ภาวะสมองขาดเลือดมีสาเหตุจากการที่ร่างกายไม่สามารถลำเลียงเลือดไปเลี้ยง สมองได้ เนื่องจากเกิดการอุดตันของเส้นเลือด ส่งผลให้ออกซิเจนและสารอาหารอื่นไม่สามารถขึ้นไปเลี้ยงสมองได้เพียงพอ หลังจากนั้นเซลล์สมองก็จะตายในเวลาเพียงสั้นๆ

นอกจากนี้ ภาวะสมองขาดเลือดอาจเกิดขึ้นจากการมีเลือดออกในสมองเนื่องจากภาวะหลอดเลือด แตก ซึ่งอัตราการเกิดขึ้นของกรณีนี้มีประมาณ 12% ของภาวะสมองขาดเลือดทั้งหมด

ความรุนแรงของภาวะสมองขาดเลือดจะมากหรือน้อยเท่าใดนั้นขึ้นอยู่กับตำแหน่ง ของเนื้อเยื่อสมองที่ถูกทำลาย โดยธรรมชาติแล้วสมองด้านซ้ายจะควบคุมการทำงานของอวัยวะซีกขวาและการพูด โดยสมองด้านขวาควบคุมการทำงานของร่างกายซีกซ้าย
โรคหลอดเลือดสมองตีบ หรือโรคสมองขาดเลือดหรือที่นิยมเรียกกันว่า  Stroke ในทางการแพทย์มักจะเรียกกันว่า CVD "Cerobrovascular disease "โรคหลอดเลือดสมองทำให้เกิดอัมพฤกษ์อัมพาต (แขนและขาอ่อนแรงครึ่งซีก) มีปัญหาทางด้านความคิด สูญเสียความจำ มีปัญหาทางด้านการพูด อารมณ์แปรปรวน การเกิดภาวะสมองขาดเลือดเป็นประสบการณ์ที่ร้ายแรงมาก ภาวะสมองขาดเลือดที่มีเนื้อสมองตาย มักเกิดจากการขาดเลือดและออกซิเจนไปเลี้ยง โดยทั่วไปเกิดจากการอุดตันของหลอดเลือดแดงในสมองหรือหลอดเลือดแดงคาโรติด ซึ่งเป็นหลอดเลือดแดงบริเวณคอที่นำเลือดไปเลี้ยงบริเวณสมอง ภาวะสมองขาดเลือดนี้มักเกิดจากหลอดเลือดสมองตีบ ( Ischemic stroke) หรือภาวะหลอดเลือดสมองแตก (Hemorrhagic stroke) ซึ่งมักเกิดจากการที่ผนังหลอดเลือดแตกทำให้มีเลือดคั่งในเนื้อสมอง 



ประมาณ 1ใน 3 ของผู้ป่วยมักมีอาการของภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวนำมาก่อน ลักษณะดังกล่าวมักเป็นเวลาสั้น ๆ เกิดขึ้นเมื่อเลือด และออกซิเจนไหลเวียนลดลงชั่วคราว ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราวหรือเรียกว่าTransient ischemic attack มีอาการเกิดขึ้นตั้งแต่ 2 – 3 นาทีถึงเป็นชั่วโมง เป็นสัญญาณเตือนบอกถึงความเสี่ยงในการเกิดภาวะสมองขาดเลือดเพิ่มขึ้นในอนาคต คนไทยเรียก โรคอัมพาต แต่ถ้าผู้ป่วยรายใดมีอาการไม่รุนแรงยังพอขยับได้เรียก โรคอัมพฤกษ์  ซึ่งจะต้องมี 3 ภาวะกล่าวคือ


  1. ภาวะนี้จะต้องเกิดจากความผิดปกติของหลอดเลือดสมอง
  2. จากเหตุในข้อ 1 มีผลทำให้สมองบางส่วนสูญเสียหน้าที่ เช่นพูดไม่ได้ อ่อนแรง
  3. ระยะเวลาที่เป็นต้องเกิน24 ชั่วโมง  
โรคอัมพาตเป็นเรื่องใกล้ตัวที่ทุกคนจะต้องทราบเกี่ยวกับโรคนี้ หลายท่านคงไม่ทราบว่าโรคนี้สามารถป้องกันได้ หลายท่านคงไม่ทราบว่าตัวเอง คุณพ่อ คุณแม่ ตลอดจนคนรู้จักหรือญาติมิตรมีความเสี่ยงต่อการเกิดโรคนี้ หากท่านทราบและปฏิบัติตัวได้อย่างเหมาะสม ก็สามารถป้องกันโรคนี้ได้    ดังนั้นจึงเป็นการสมควรอย่างยิ่งสำหรับผู้ที่มีความเสี่ยง และยังไม่พยายามที่จะลดความเสี่ยงเหล่านั้นได้ทราบถึงอันตรายและผลที่จะเกิด หากท่านเป็นโรคอัมพาต
หลายท่านยังมีความเข้าใจผิดว่าโรคอัมพาตรักษาไม่ได้ อัมพาตป้องกันไม่ได้ อัมพาตเป็นเฉพาะผู้สูงอายุ ทั้งหมดเป็นความเข้าใจผิด อัมพาตสามารถป้องกันได้ อัมพาตสามารถเป็นได้กับผู้ป่วยทุกอายุ และสามารถรักษาได้
การรักษาโรคอัมพาตให้ได้ผลผู้ป่วยต้องรีบพบแพทย์ให้เร็วที่สุด ท่านผู้อ่านต้องรู้ถึงสัญญาณอันตรายบทความนี้จะกล่าวถึง

2.โรคหลอดเลือดหัวใจ

 โรคหัวใจ และหลอดเลือด เป็นกลุ่มอาการของโรคที่เกิดจากหลอดเลือดตีบตัน หรือหลอดเลือดแข็งตัว ซึ่งเกิดจากการสะสมของไขมัน โปรตีน และแร่ธาตุในผนังหลอดเลือดจนเกิดการตีบตัน และแคบ ทำให้มีความต้านทานการไหลของเลือด หลอดเลือดขาดความยืดหยุ่น เปราะบางมากขึ้น หากเกิดบริเวณหลอดเลือดแดงที่ไปเลี้ยงหัวใจ จะทำให้เลือดไปเลี้ยงหัวใจได้น้อย เกิดโรคหัวใจขาดเลือด หากอุดตันจนเลือดไปเลี้ยงหัวใจไม่ได้ จะเกิดหัวใจวายเฉียบพลัน หรือหัวใจล้มเหลว ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจตาย และเสียชีวิตได้




อาการของโรคหัวใจขาดเลือด แบ่งเป็น 3 กลุ่มอาการ
    1. กลุ่มกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด (กล้ามเนื้อยังไม่ตาย) หัวใจเกิดการทำงานที่หนักขึ้น หัวใจเต้นแรง เหนื่อยง่าย บางครั้งมีอาการคลื่นไส้ อาเจียน เป็นลม เหงื่อออกมาก มือเท้าเย็น บางคนไม่มีอาการดังกล่าว แต่เกิดอาการหัวใจวายกะทันหัน ถ้าเกิดที่สมอง อาจมีอาการพูดจาติดขัด ชาตามหน้า แขน ขา และปาก
    2. กลุ่มที่กล้ามเนื้อหัวใจวาย เนื่องจากหัวใจได้รับเลือดมาเลี้ยงไม่พอ ทำให้กล้ามเนื้อหัวใจขาดออกซิเจน มีอาการเจ็บหน้าอกอย่างรุนแรงนานเกิน 30 นาที หรือจนกว่าจะได้รับการรักษา มีอาการแน่นหน้าอก หายใจไม่ออก เขียวซีด และช็อก เนื่องจากหัวใจหยุดทำงาน และมักเสียชีวิตในเวลาต่อมา
    3. กลุ่มที่เสียชีวิตทันที กลุ่มที่มีอาการเช่นเดียวกับกลุ่ม 1 และกลุ่ม 2 เมื่อเกิดอาการ และนำส่งโรงพยาบาลไม่ทัน






3.โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย

เรามักจะเข้าใจกันว่าอาการปวดน่อง ปวดขา เกิดจากโรคในระบบกระดูกและข้อ หรือบางคนคิดว่าเป็นอาการปกติของผู้สูงอายุ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอาการมักจะเป็นมากขึ้นเวลาที่เดิน หรือออกกำลังกายจริงๆ สาเหตุส่วนใหญ่คือ โรคหลอดเลือดแดงส่วนปลาย
 หลอดเลือดแดงส่วนปลาย คือ หลอดเลือดแดงที่เลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ยกเว้นหัวใจและสมอง เช่น หลอดเลือดแดงที่ แขน ขา มือ เท้า หรือในช่องท้อง ซึ่งหลอดเลือดแดงเหล่านี้มีหน้าที่เลี้ยงทั้งกล้ามเนื้อ กระดูก และระบบประสาท มีความสำคัญไม่ยิ่งหย่อนกว่าหลอดเลือดหัวใจ
 โรค ของหลอดเลือดแดงส่วนปลาย เกิดจากความเสี่ยงของผนังหลอดเลือด โดยเฉพาะในผู้ที่มีความเสี่ยง เช่น โรคความดันโลหิตสูง เบาหวาน ไขมันในเลือด การสูบบุหรี่ โรคอ้วน หรืออายุที่มากขึ้น ล้วนเป็นปัจจัยที่ทำให้หลอดเลือดแดงเกิดการตีบ ตัน หรือมีลิ่มเลือดเกิดขึ้นได้




อาการของโรคหลอดเลือดแดงส่วนปลายที่ขา
 - ปวดเท้า ปวดน่อง โดยเฉพาะเวลาที่เดิน หรือออกกำลังกาย
 - เท้ามีอาการชา หรือสีซีดลง ในบางรายอาจมีอุณหภูมิที่ผิวหนังเย็นลง
 - แผลที่เท้า หรือส้นเท้า ที่รักษายาก หายช้า มักพบในผู้ที่มีเบาหวานร่วมด้วย บางครั้งแผลอาจลุกลามจนเกิดเนื้อเน่าตาย
 อาการเหล่านี้อาจมีได้ข้างเดียว หรือทั้งสองข้าง
การวินิจฉัยโรค
 ความ สำคัญของการวินิจฉัยโรค นอกเหนือจากจะช่วยหยุดยั้งอาการของโรค โดยเฉพาะที่ขาได้แล้ว ยังมีความสำคัญในการช่วยป้องกันการเกิดโรคหลอดเลือดแดงของหัวใจ และสมองได้อีกด้วย การวินิจฉัยง่ายๆ ที่ทำได้คือ การวัดความแข็งตัวของหลอดเลือดแดงที่แขน เปรียบเทียบกับที่ข้อเท้า โดยใช้เครื่องมือที่เรียกว่า ABI ซึ่งสามารถทำได้ง่าย สะดวก รวดเร็ว สามารถวินิจฉัยโรคได้ในเบื้องต้น
 หากแพทย์ต้องการดูรายละเอียดมากขึ้น ก็จะใช้เครื่องมือทางรังสีวินิจฉัย เช่น เครื่องเอกซเรย์คอมพิวเตอร์ (CTA) หรือเครื่องตรวจคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) มาช่วยในการตรวจดูรายละเอียดของหลอดเลือด ส่วนการตรวจที่ให้รายละเอียดและความแม่นยำมากที่สุดคือ การตรวจด้วยวิธีสวนหลอดเลือด หรือ Angiogram
วิธีรักษา
 ขึ้นอยู่กับ ตำแหน่งและความรุนแรงของการตีบตันของหลอดเลือด การรักษาสามารถทำได้ตั้งแต่การทานยา ร่วมกับการออกกำลังกายของขา กรณีเป็นมากขึ้น อาจใช้วิธีที่ไม่ต้องผ่าตัด เช่น การขยายหลอดเลือดด้วยบอลลูน หรือใส่อุปกรณ์ถ่างขยายที่ทำจากขดลวด (Stent) กรณีที่มีความจำเป็น หรือโรครุนแรงมาก อาจจำเป็นต้องรักษาด้วยการผ่าตัดเพื่อเชื่อมต่อหลอดเลือด (Bypass)
การป้องกัน
 ต้อง หลีกเลี่ยงความเสี่ยงต่างๆ เช่น หยุดสูบบุหรี่ ควบคุมเบาหวาน ไขมัน และความดัน ออกกำลังกายสม่ำเสมอ โดยเฉพาะผู้สูงอายุควรใช้วิธีการเดินหรือปั่นจักรยาน การออกกำลังกายจะเห็นผลได้ ต้องทำอย่างน้อยวันละ 30 นาที สัปดาห์ละ 3 วัน ติดต่อกันเป็นเวลา 6 เดือน และเมื่อมีอาการปวดเท้า ปวดน่อง โดยเฉพาะเวลาเดินหรือออกกำลังกาย ให้รีบไปพบแพทย์ทันที





การควบคุม และป้องกัน
    1. ควบคุมน้ำหนักตัวให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ โดยตรวจสอบได้จากการคำนวณหาดัชนีมวลกายดังนี้
เกณฑ์ปกติของค่าดัชนีมวลกาย คือ 18.5 – 24.9 กก. / เมตร2
    2. ลดการบริโภคไขมัน และผลิตภัณฑ์จากสัตว์ เช่น กุนเชียง ไส้กรอก หมูยอ และเลือกบริโภคเนื้อสัตว์ไม่ติดมัน หรือเนื้อปลาที่มีไขมันน้อย เช่น ปลาช่อน ปลาตาเดียว ปลาไส้ตัน
    3. ถ้าดื่มนมได้ ให้ดื่มนมชนิดพร่องมันเนย หรือขาดมันเนย
    4. ลดอาหารที่มีส่วนประกอบของเนยแท้ และเนยเทียม เช่น เบเกอรี่ต่าง ๆ
    5. ใช้น้ำมันพืชในการประกอบอาหาร โดยเลือกชนิดของน้ำมันให้มีสัดส่วนของกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยว-สูง เช่น น้ำมันรำข้าว หรือเลือกน้ำมันที่มีกรดไขมันจำเป็นไลโนเลอิก และไลโนเลนิกสูง เช่น น้ำมันถั่วเหลือง
    6. เลือกบริโภคอาหารที่มีโคเลสเตอรอลต่ำ
    7. บริโภคผัก ผลไม้ ให้ได้วิตามินซี และเบต้าแคโรทีน เพื่อช่วยให้หลอดเลือดมีความแข็งแรง
ขอขอบคุณข้อมูลจาก
    • หนังสือตำรับอาหารป้องกันโรค
    • นิตยสาร Health and cuisine